วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2567

ซีพีเอฟ - สจล. เตรียมนำเทคโนโลยี “eDNA” ช่วยควบคุมปลาหมอคางดำให้อยู่ในพื้นที่จำกัด

ซีพีเอฟ - สจล. เตรียมนำเทคโนโลยี “eDNA”

ช่วยควบคุมปลาหมอคางดำให้อยู่ในพื้นที่จำกัด

       บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ จับมือกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เตรียมใช้เทคนิค Environmental DNA (eDNA) ในการจัดการและควบคุมการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ (Sarotherodon melanotheron) ในแหล่งน้ำและพื้นที่กันชน ร่วมสนับสนุนภาครัฐแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและยั่งยืน

        นายเปรมศักดิ์ วนัชสุนทร ผู้บริหารสูงสุดด้านการวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ ได้กำหนดแผนปฏิบัติการเชิงรุก 5 โครงการ เพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาการแพร่กระจายของปลาหมอคางดำอย่างเร่งด่วนของรัฐบาล เช่น การจับปลาออกจากแหล่งน้ำให้มากที่สุดและเร็วที่สุด เพื่ออำนวยความสะดวกในการปล่อยปลาผู้ล่า ตามขั้นตอนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ซึ่งความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเป็นหนึ่งในแผนปฏิบัติงานเชิงรุกของบริษัทฯ ภายใต้โครงการที่ 5 ที่มุ่งมั่นร่วมทำวิจัยกับผู้เชี่ยวชาญในการหาแนวทางควบคุมประชากรปลาหมอคางดำในระยะยาว 

        ผศ. ดร.ธงชัย พุฒทองศิริ คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตรกล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ ว่า สจล. เป็นมหาลัยที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ ได้นำเทคนิค eDNA มาวิเคราะห์ DNA ของปลาหมอคางดำที่อยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งวิธีในการประเมินสุขภาพโดยรวมของระบบนิเวศทางน้ำ จากการเก็บรวบรวมร่องรอยพันธุกรรมที่สัตว์ปล่อยออกมาสู่สิ่งแวดล้อม จะช่วยให้สามารถระบุความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในพื้นที่และเข้าใจว่าจำนวนประชากรของปลามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การวิเคราะห์และประเมินผลด้วยวิธีนี้จะช่วยป้องกันการระบาดและโอกาสเสี่ยงในการแพร่กระจายไปยังแหล่งน้ำอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        ผศ.ดร.วัลย์ลดา กลางนุรักษ์ ผู้ช่วยคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล. กล่าวว่า เทคโนโลยี eDNA เป็นวิธีการใหม่ในการสำรวจสัตว์น้ำและประเมินความหลากหลายทางชีวภาพที่มีความแม่นยำสูง สามารถตรวจพบร่องรอยดีเอ็นเอที่สัตว์น้ำปล่อยออกมาในน้ำ ซึ่งสามารถระบุการมีอยู่ของสัตว์น้ำชนิดนั้นได้แม้มีในปริมาณหรือจำนวนตัวที่น้อยมาก หรือในบริเวณที่ยากต่อการสำรวจแบบดั้งเดิมที่ต้องใช้การสุ่มตัวอย่างด้วยเครื่องมือประมง 

“การใช้ eDNA ในการสำรวจการแพร่กระจายของปลาหมอคางดำเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยให้เราสามารถระบุขอบเขตพื้นที่ที่มีการระบาดได้ชัดเจน กำหนดพื้นที่กันชนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด สามารถนำข้อมูลมาประกอบการพัฒนาการจัดการและควบคุมการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำได้อย่างยั่งยืน” ผศ.ดร.วัลย์ลดา กล่าว

        สำหรับโครงการความร่วมมือระหว่าง สจล. กับ ซีพีเอฟ จะทำการศึกษาในลุ่มน้ำสำคัญของประเทศไทย โดยเริ่มต้นเก็บน้ำในพื้นที่ที่มีรายงานการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ จากนั้นนำตัวอย่างน้ำที่เก็บได้ไปทำการวิเคราะห์ eDNA ในห้องปฏิบัติการ เพื่อระบุการมีอยู่และความหนาแน่นของปลาหมอคางดำในแต่ละพื้นที่ที่มีการระบาด รวมถึงแหล่งน้ำที่ยังไม่ระบาดแต่มีโอกาสเสี่ยงของการแพร่กระจาย (พื้นที่กันชน) นำมาช่วยให้การวางแนวทางการเฝ้าระวังและกำหนดมาตรการควบคุมไม่ให้มีการแพร่กระจายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถรับทราบผลได้อย่างรวดเร็ว  

        นอกจากนี้ ในการศึกษายังครอบคลุมถึงการหาความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ของสัตว์น้ำประจำถิ่นชนิดอื่นๆ เช่น ปลาผู้ล่าในธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งจะสามารถทำได้โดยการใช้เครื่องมือประมง เช่น การจับด้วยตาข่ายหรือเครื่องมือประมงที่เหมาะสม จากนั้นนับจำนวนและระบุชนิดของปลาที่จับได้ในพื้นที่ที่กำหนดเพื่อนำมาร่วมพิจารณาหาแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดได้อย่างยังยืน

        ผศ.ดร.วัลย์ลดา กล่าวต่อไปว่า การวิเคราะห์ผลจากเทคนิค eDNA จะสนับสนุนการวางแผนและกำหนดวิธีการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถปล่อยปลาผู้ล่าที่เป็นชนิดเดียวกับที่มีอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติได้อย่างเหมาะสมด้วย โดยไม่จำเป็นต้องนำปลาผู้ล่าชนิดอื่นที่อาจเป็นเอเลียนสปีชีส์เข้าไปในพื้นที่ สำหรับแผนปฏิบัติการเชิงรุกเพื่อแก้ปัญหาการแพร่กระจายของปลาหมอคางดำของ ซีพีเอฟ ประกอบด้วย 

โครงการที่ 1 ทำงานร่วมกับกรมประมงสนับสนุนการรับซื้อปลาหมอคางดำจากทุกจังหวัดทั่วประเทศที่มีการระบาด ราคา 15 บาทต่อกิโลกรัม จำนวน 2,000,000 กิโลกรัม นำมาผลิตเป็นปลาป่นเพื่อเร่งกำจัดปลาหมอคางดำออกจากระบบให้มากและเร็วที่สุด ขณะนี้รับซื้อปลาหมอคางดำในพื้นที่ไปมากกว่า 800,000 กิโลกรัม 

โครงการที่ 2 ร่วมสนับสนุนภาครัฐและชุมชน ปล่อยปลาผู้ล่าลงสู่แหล่งน้ำ จำนวน 200,000 ตัว โดยที่ผ่านมา บริษัทมีการส่งมอบปลากะพงขาว จำนวน 70,000 ตัว ให้กับประมงจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และจันทบุรี 

โครงการที่ 3 ร่วมสนับสนุนภาครัฐ ชุมชนและภาคประชาสังคม จัดกิจกรรมจับปลา สนับสนุนอุปกรณ์จับปลาและกำลังคน ในทุกพื้นที่ที่ประสบปัญหาอย่างต่อเนื่องดำเนินการแล้ว 13 จังหวัด รวม 26 ครั้ง จับปลาได้ 15,658 กิโลกรัม

โครงการที่ 4 การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากปลาหมอคางดำ โดยมีสถาบันการศึกษาชั้นนำ เช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ศึกษาวิจัยและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร และโครงการที่ 5 ร่วมทำวิจัยกับผู้เชี่ยวชาญในการหาแนวทางควบคุมประชากรปลาหมอคางดำในระยะยาว สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง./



 







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

งาน "วันหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก" งานสร้างสริมคนดีมีคุณธรรรม ครั้งที่ ๓๖        วัน "หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร" จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาเสด็จฯ เป็นไปประธานเปิดงานที่หอประชุมบ้านมนังคศิลา เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งเป็นวันที่หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ถึงแก่อนิจกรรม จัดโดยองค์การกุศลต่างๆ ที่หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร มีส่วนเกี่ยวข้องประมาณ ๔๕ หน่วยงาน          งาน "วันหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก" งานสร้างเสริมคนดีมีคุณธรรม จัดเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีและเผยแพร่เกียรติคุณของหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก และมอบรางวัล "หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก" ให้แก่บุคคลผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อเยาวชน สังคม ประเทศชาติโดยรวม  ซึ่งเป็นการดำเนินรอยตามจริยปฏิบัติและคุณธรรมสำคัญข้อหนึ่งของ "หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร" ที่ตลอดชีวิตท่านมีแต่การให้ คือให้ความเมตตา ให้โอกาส ให้เกียรติยกย่อง ให้กำลังใจส่งเสริมสนับสนุนซีเรีย ผู้น้อย และผู้ใต้บังคับบัญชา       สำหรับการจัดงาน "วันหม่อมงามจิตด์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก" งานสร้างสริมคนดีมีคุณธรรรม ปี ๒๕๖๗ นี้ เป็นการจัดงานครั้งที่ ๓๖ โดยได้รับเกียรติจาก พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี เป็นประธานเปิดงานและมอบรางวัล "หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก" สร้างเสริมคนดีมีคุณธรรม ประจำปี ๒๕๖๗ โดยมี คุณหญิงแสงเดือน ณ นคร ประธานมูลนิธิอนุสรณ์หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ในพระราชาชูปถัมภ์ฯ นางอารยา อรุณสวัสดิ์ รองประธานมูลนิธิฯ และประธานโครงการยกย่องเกียรติคุณคพิการดีเด่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้ช่วยศาสดาจารย์ ดร.พรทิพย์ พุกผาสุข รองประธานมูลนิธิฯ คณะกรรมการมูลนิธิฯ คุณอัจฉรพรรณ คณาธนะวนิชย์ บริษัท แหลมทองสหการ ดร.พรชัย มงคลวนิช อธิการบดีมหาวิทยาลัยสยาม คุณจันทรา อินทรทูต รองประธานกรรมการมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถ้มภ์ และแขกผู้มีเกียรติร่วมงาน ณ หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ ซอยอาริย์สัมพันธ์ เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร          โดยภายในงาน พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี เป็นประธานเปิดงานและมอบรางวัล "หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก" สร้างเสริมคนดีมีคุณธรรม ประจำปี ๒๕๖๗ ให้แก่ประธานคณะกรรมการอุปการะเยาวชนประจำจังหวัด (ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด) ของมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์, อาจารย์ระดับอุดมศึกษาผู้ทรงคุณธรรม มีผลงานดีเด่นในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา, ครูในกรุงเทพฯ ผู้รับผิดชอบงานมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชนในพระบรมราชินูปถัมภ์ ผู้มีผลงานดีเด่นในการบำเพ็ญประโยชน์ดีเด่นแก่ประชาชนและสังคม (ตำรวจจราจรดีเด่น พนักงานกวาดถนนดีเด่น พนักงานขับรถโดยสารประจำทาง บขส. ดีเด่น ผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยดีเด่น พลเมืองดี และจิตอาสาดีเด่น), คนพิการดีเด่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิต, หมู่บ้านหัตถกรรมดีเด่นและผู้นำหมู่บ้านหัตถกรรมดีเด่น       นอกจากนี้ยังมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมทึ่ได้รับรางวัลในปีนี้ (ทุกภาค) และสินค้าผลิตภัณฑ์คนพิการอีกด้วย

งาน "วันหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก" งานสร้างเสริมคนดีมีคุณธรรรม ครั้งที่ ๓๖         วัน "หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร&qu...