และอัพเดตสถานการณ์ท่องเที่ยว” ไตรมาส 1/2567
ต่อยอด Ignite Thailand เสนอ ยุทธศาสตร์ใช้ Tourism Hub เป็นแกนเชื่อมโยง 7 เสาหลัก
เพิ่มมูลค่า กระจายรายได้อย่างสมดุล หนุน Digital Wallet เพื่อการท่องเที่ยว
สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) จัดแถลงข่าว “ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทยและอัพเดตสถานการณ์ท่องเที่ยว” ไตรมาส 1/2567 โดยมีนายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธาน สทท. เป็นประธานในการแถลงข่าวเรื่อง "สทท. หนุน Ignite Tourism Thailand เสนอยุทธศาสตร์สู่การท่องเที่ยวสมดุล" และ "การช่วยเหลือผู้ประกอบการท่องเที่ยว (SME) ด้านการตลาด" ส่วน รศ.ผกากรอง เทพรักษ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จะมา “สรุปผลดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการท่องเที่ยวไตรมาส 1/2567” ณ ห้องประชุมกินรี ชั้น 10 อาคารการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน 2567
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย รศ.ผกากรอง เทพรักษ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย กล่าวว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไตรมาส 1/2567 อยู่ที่ระดับ 81 เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4/2566 ที่ระดับ 77 และไตรมาส 1/2566 ที่ 74 สะท้อนสถานการณ์ท่องเที่ยวยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปกติมาก แต่สูงที่สุดในรอบ 4 ปี
แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น (86) มีสถานการณ์ท่องเที่ยวเป็นบวกมากกว่าธุรกิจประเภทอื่น รองลงมาเป็นธุรกิจที่พักแรมและบริษัทนำเที่ยว (85)
ส่วนร้านขายของฝาก/ของที่ระลึกและสถานบันเทิง (75) มีความเชื่อมั่นต่ำกว่าธุรกิจประเภทอื่น
ภาคใต้ (86) สถานการณ์ท่องเที่ยวเป็นบวกมากกว่าภูมิภาคอื่น รองลงมาเป็นภาคตะวันออก (84) และภาคเหนือ (83) ตามลำดับ ส่วนภาคกลาง (77) สถานการณ์ท่องเที่ยวต่ำกว่าภูมิภาคอื่น
อัตราการเข้าพักในธุรกิจที่พักแรมในภาพรวมร้อยละ 60 น้อยกว่าไตรมาส 4/2566 โดยภาคใต้มีอัตราการเข้าพักสูงที่สุด (ร้อยละ 72) รองลงมา ภาคตะวันออก (ร้อยละ 64) ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการเข้าพักน้อยที่สุด (ร้อยละ 51) ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์สถานการณ์ท่องเที่ยวไตรมาส 2/2567 จากผู้ประกอบการทั่วประเทศ อยู่ที่ระดับ 83 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นถึงสถานการณ์ท่องเที่ยวไตรมาสนี้จากช่วงเทศกาลสงกรานต์
นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) กล่าวว่า ไตรมาส 1/2567 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 9.37 ล้านคน เพิ่มขึ้น 44% จากปีที่แล้ว ไทยเที่ยวไทยมากกว่า 50 ล้านคนครั้ง สร้างรายได้รวมประมาณ 6.5 แสนล้านบาท คาดว่าทั้งปีจะมีนักท่องเที่ยวประมาณ 34-36 ล้านคน รายได้ 2.5 ล้านล้านบาท ในเชิง Demand ยังมีโอกาส ที่จะเพิ่มรายได้เป็น 3.0-3.5 ล้านล้านบาท ปัจจัยความสำเร็จขึ้นกับยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลจะใช้ ทั้งในเชิงงบประมาณและการสร้างความพร้อมของผู้ประกอบการ วันนี้เรามีความท้าทายเร่งด่วน 4 ข้อ คือ PM2.5 / ทักษะคนท่องเที่ยว / ค่าตั๋วเครื่องบินแพง และ การแข่งขันในช่วง Green Season ไตรมาส 2-3 ที่หลายประเทศอัดแคมเปญส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างดุเดือด
และจากผลการวิจัยระบุว่า ประชาชนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 65) ต้องการให้ Digital Wallet สามารถใช้ได้กับการท่องเที่ยว สทท. จึงเสนอว่าอาจจะออกเป็นแคมเปญแบบ”เที่ยวคนละครึ่ง” 1 แสนล้านบาท ซึ่งหากทำได้ จะเพิ่มรายได้จากไทยเที่ยวไทยไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท ทำให้เป้าหมายท่องเที่ยว 3.5 ล้านล้านบาท เป็นไปได้มากขึ้น และสามารถกำหนดเป้าหมายให้กระจายรายได้ไปยังเมืองรองได้อีกด้วย
ด้านนายกิตติ พรศิวะกิจ ประธาน Smart Tourism สทท. กล่าวว่า เพื่อมุ่งเป้าสู่รายได้การท่องเที่ยว 3.5 ล้านล้านบาท และต่อยอดนโยบาย Ignite Thailand สทท. มีข้อเสนอต่อรัฐบาล 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์ Ignite X ใช้ Tourism Hub เป็นแกนกลาง เชื่อมโยง อีก 7 เสาหลัก เพื่อ เพิ่มมูลค่า และกระจายรายได้ เช่น T X H = Health Tourism ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กีฬาและผู้สูงวัย / T X A = AgroTourism ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ชุมชน และอาหารท้องถิ่น / T x D = Digital Nomad
2. ยุทธศาสตร์ 4 สมดุล (1) สมดุล เมืองหลัก เมืองรอง กระจายรายได้สู่เมืองรอง โดย ใช้ 3 แกน บริษัทนำเที่ยว อินฟลูเอนเซอร์ และ แพลทฟอร์ม ใช้เมืองที่มีสนามบินนานาชาติเป็นเมืองหลัก ใช้รถบัส รถตู้ รถไฟ เครื่องบินโลคัล เป็นเครื่องมือกระจายนักท่องเที่ยว (2) สมดุล เล็ก- ใหญ่ ต้องจัดสรรงบประมาณ ส่งเสริม SME ให้มีพลังกลับมาขับเคลื่อนการท่องเที่ยวสำหรับ 40 ล้านคน ลด K Shape (3) สมดุล Natural – Manmade + Event ลดการพึ่งพาธรรมชาติ สร้าง Manmade ในอุทยาน + Mega Event ในเมืองใหญ่ + D MICE ในเมืองรอง (4) สมดุล Quick Win - Sustainable Win ต้องปลูกป่าและทำฝนเทียมไปพร้อมกัน ต้องยกระดับเรื่อง Green ไปพร้อมกับ การ growth hacking ชี้เป้าพานักท่องเที่ยวไปยังพื้นที่เป้าหมาย ในวัน weekday
3. ยุทธศาสตร์ 4 เติม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ Supply-side เพื่อ เติมทุน เติมลูกค้า เติมความรู้ เติมนวัตกรรม (1) เติมทุน 5,000 ล้านบาท เสริมสภาพคล่อง SME แบบเข้าถึงได้ อนาคตต่อยอดเป็นกองทุน Smart Tourism และธนาคารเพื่อการท่องเที่ยว (2) เติมลูกค้าแบบมุ่งเป้า ตาม ชาติ วัย ความสนใจ เช่น Digital Wallet สำหรับการท่องเที่ยว / ข้าราชการเที่ยวไทย / เมืองเกษียณโลก / LGBTQ / Tourism For All / ท่องเที่ยวเชิงอาหาร / สายมู / VISA Asean / VISA มวยไทย / Friend of Thailand เช่น โรเจอร์ เฟดเดอร์เรอร์ (3) เติมความรู้ ยกระดับทักษะบุคลากรทางการท่องเที่ยว และผู้ประกอบการ / ทำ workshop สร้างสินค้าและเส้นทางที่ตอบโจทย์ยุคใหม่ (4) เติมนวัตกรรม เช่น การใช้ Canva / Generative AI / Live / B2B / Web API / VR360 / Tiktok / Reels / Big Data
4. ยุทธศาสตร์ 4 สงคราม เร่งด่วน (1) แก้ปัญหา PM2.5 ทั้งการปราบปราม และใช้ภาคท่องเที่ยวส่งเสริมการใช้วัตถุดิบที่เหลือเช้ามาสร้างมูลค่าเพิ่ม (2) Safety Trust ยกระดับความปลอดภัยทุกมิติ ก่อนเกิดเหตุ ระหว่างเกิดเหตุ หลังเกิดเหตุ ทั้งด้านการป้องกันจากการตรวจสภาพรถ เรือ อาคาร / การฝึกอบรมบุคลากรเพื่อความปลอดภัย / มาตรฐาน Food Safety / การแจ้งเหตุผ่านเครือข่าย 5G / การรักษาพยาบาลได้ทุก ร.พ. (3) Cyber - Fake Web Page ทัวร์ทิพย์ ปราบปรามเว็บหลอกลวง ให้โอนเงินค่าจองโรงแรม ค่าทัวร์ และสินค้าของฝาก (4) Nominee - Fake Guide ปราบปรามขบวนการนอมินีและไกด์เถื่อนอย่างจริงจัง มีการให้รางวัลกับผู้แจ้งเหตุ และมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น