วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2567

สจล. เปิดศูนย์วิจัยนวัตกรรมด้านเซมิคอนดักเตอร์ "KAISEM" ครบวงจรแห่งแรกในไทย

สจล. เปิดศูนย์วิจัยนวัตกรรมด้านเซมิคอนดักเตอร์ "KAISEM" ครบวงจรแห่งแรกในไทย

จับมือบริษัทเอกชนระดับโลก ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ

         สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ฉลองการก้าวเข้าสู่ปีที่ 65 ด้วยการเปิดตัว ศูนย์ KMITL Academy of Innovative Semiconductor Manufacturing (KAISEM) ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ที่ครบวงจรแห่งแรกในประเทศ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567

       ศูนย์ KAISEM จะทำหน้าที่เป็นห้องปฏิบัติการกลาง (central laboratory) ที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขามาร่วมมือกันในการวิจัย และพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้กับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เซมิคอนดักเตอร์ของไทย ซึ่งเป็นหัวใจของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ยุคใหม่ โดยศูนย์ KAISEM จะเป็นศูนย์กลางในการศึกษาและพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมด้านเซมิคอนดักเตอร์ และกระบวนการผลิตอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งเป้าหมายเป็น the Word Master of Innovation อย่างยั่งยืน

          รองศาสตราจารย์ ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ตลอด 64 ปีที่ผ่านมา สจล. ได้สร้างชื่อเสียงในด้านการศึกษาและการพัฒนาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเซมิคอนดักเตอร์ เช่น วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมระบบการผลิต และวิศวกรรมวัสดุ ในปีนี้ สจล. ได้ก่อตั้งศูนย์ KMITL Academy of Innovative Semiconductor Manufacturing (KAISEM) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาหลักสูตรเฉพาะทางและเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาในการก้าวสู่อนาคตที่เต็มไปด้วยความท้าทายของอุตสาหกรรมเชมิคอนตักเตอร์

         สจล. มีประวัติการวิจัยที่ยาวนานในด้านเชมิคอนดักเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบบวงจรรวม การพัฒนาอุปกรณ์เซมิคอนตักเตอร์ หรือการออกแบบแผ่นวงจรพิมพ์ (PCB) ที่ประยุกต์ใช้งานในด้านต่าง ๆ นอกจากนี้ สจล. ยังมีความร่วมมือกับภาคเอกชน มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยชั้นนำจากทั่วโลก เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น และเยอรมนี ซึ่งความร่วมมือเหล่านี้จะยิ่งเสริมสร้างศักยภาพในการวิจัยของศูนย์ KAISEM และทำให้สจล. เป็นผู้นำระดับโลกในด้านเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ พร้อมทั้งเชื่อมโยงภาคการศึกษาและอุตสาหกรมเพื่อให้บริการวิชาการที่ครอบคลุมและตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ

        รองศาสตราจารย์ ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ได้ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรและวิธีการเรียนการสอนให้ทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะหลักสูตรภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มุ่งผลิตบุคลากรคุณภาพสำหรับตำแหน่งงานด้านเซมิคอนดักเตอร์ ผ่านความร่วมมือกับบริษัทชั้นนำกว่า 11 องค์กร ซึ่งทำให้คณะมีห้องปฏิบัติการด้านเซมิคอนดักเตอร์และสมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย สนับสนุนการเป็นศูนย์กลางในการผลิตบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศไทย นอกจากนี้ คณะยังได้เสนอแนวทางการเรียนไปพร้อมกับการทำงาน (WIL) ซึ่งช่วยให้บุคลากรพร้อมเข้าสู่ตลาดงานได้ทันทีและลดระยะเวลาในการรอให้กับภาคอุตสาหกรรม

         ภายในงานการเปิดศูนย์ KAISEM ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างสถาบันฯ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ และ บริษัท National Instruments ซึ่งเป็นบริษัทด้านเซมิคอนดักเตอร์ ชั้นนำระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบทดสอบและวัดผลอัตโนมัติ และมีการให้บริการในหลายอุตสาหกรรม เช่น ยานยนต์ อากาศยานอิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม มายกระดับการเรียนการสอนและการวิจัยของคณะ ให้ก้าวสู่ระดับสากล

           ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิภู ศรีสืบสาย รักษาการแทนคณบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมวัสดุ สจล. กล่าวว่า สจล. เป็นผู้นำในด้านวิศวกรรมวัสดุ (Material Engineering) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ศูนย์ KAISEM มุ่งเน้นการรวบรวมนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ที่มีความทันสมัยและประสิทธิภาพสูง ศูนย์ KAISEM จะเป็นศูนย์กลางในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านวัสดุศาสตร์ โดยเฉพาะการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต เชมิคอนดักเตอร์และ PCB ศูนย์ KAISEM จะมุ่งเน้นการพัฒนาวัสดุที่สามารถตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในระดับโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการรวมความเชี่ยวชาญจากนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์ของ สจล. และพันธมิตร ศูนย์ KAISEM จะช่วยเพิ่มความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์และเสริมกระบวนการผลิตให้มีความทันสมัยและแข่งขันได้ในตลาดโลกอย่างยั่งยืน

            รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรพล ภคศิริ รักษาการแทนคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง สจล. กล่าวว่า สจล. ให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรมและการให้บริการวิชาการที่ได้รับการยอมรับจากภาครัฐและเอกชนมาอย่างยาวนาน การเปิดศูนย์ KAISEM จะตอบสนองความต้องการในการทดลองกระบวนการผลิตเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้วยบริการออกแบบเทคโนโลยีการผลิตแบบ pilot ก่อนการลงทุนในระดับใหญ่ พร้อมกับการวิจัยและพัฒนาสำหรับการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ศูนย์ KAISEM ยังจะเป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์และเป็นศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญในการสร้างงานวิจัยขั้นสูงเกี่ยวกับเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์และ PCB โดยการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น เยอรมัน เพื่อยกระดับเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ของประเทศไทยให้เป็นรับในระดับโลก นอกจากนี้ ยังมีภารกิจในการให้บริการด้านวิชาการ การเรียนการสอน และการฝึกครบถ้วนและสมบูรณ์

        การก้าวเข้าสู่ปีที่ 65 ของ สจล. ไม่เพียงแต่เป็นการเฉลิมฉลองความสำเร็จที่ผ่านมา แต่ยังเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตที่เต็มไปด้วยโอกาสและความท้าทาย ศูนย์ KAISEM เป็นสัญลักษณ์ของความมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ และเป็นการยืนยันถึงบทบาทของ สจล. ในการเป็น World Master of Innovation พร้อมนำประเทศไทยเข้าสู่ยุคใหม่ของนวัตกรรมและเทคโนโลยี

ติดตามความเคลื่อนไหวอื่น ๆ ที่น่าสนใจได้ทาง https://www.facebook.com/kmitlofficial  และเว็บไซต์ https://www.kmitl.ac.th  และติดตามรายละเอียดหลักสูตรที่เปิดสอนได้ที่  https://curriculum.kmitl.ac.th/ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-329-8000 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

งาน "วันหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก" งานสร้างสริมคนดีมีคุณธรรรม ครั้งที่ ๓๖        วัน "หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร" จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาเสด็จฯ เป็นไปประธานเปิดงานที่หอประชุมบ้านมนังคศิลา เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งเป็นวันที่หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ถึงแก่อนิจกรรม จัดโดยองค์การกุศลต่างๆ ที่หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร มีส่วนเกี่ยวข้องประมาณ ๔๕ หน่วยงาน          งาน "วันหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก" งานสร้างเสริมคนดีมีคุณธรรม จัดเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีและเผยแพร่เกียรติคุณของหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก และมอบรางวัล "หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก" ให้แก่บุคคลผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อเยาวชน สังคม ประเทศชาติโดยรวม  ซึ่งเป็นการดำเนินรอยตามจริยปฏิบัติและคุณธรรมสำคัญข้อหนึ่งของ "หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร" ที่ตลอดชีวิตท่านมีแต่การให้ คือให้ความเมตตา ให้โอกาส ให้เกียรติยกย่อง ให้กำลังใจส่งเสริมสนับสนุนซีเรีย ผู้น้อย และผู้ใต้บังคับบัญชา       สำหรับการจัดงาน "วันหม่อมงามจิตด์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก" งานสร้างสริมคนดีมีคุณธรรรม ปี ๒๕๖๗ นี้ เป็นการจัดงานครั้งที่ ๓๖ โดยได้รับเกียรติจาก พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี เป็นประธานเปิดงานและมอบรางวัล "หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก" สร้างเสริมคนดีมีคุณธรรม ประจำปี ๒๕๖๗ โดยมี คุณหญิงแสงเดือน ณ นคร ประธานมูลนิธิอนุสรณ์หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ในพระราชาชูปถัมภ์ฯ นางอารยา อรุณสวัสดิ์ รองประธานมูลนิธิฯ และประธานโครงการยกย่องเกียรติคุณคพิการดีเด่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้ช่วยศาสดาจารย์ ดร.พรทิพย์ พุกผาสุข รองประธานมูลนิธิฯ คณะกรรมการมูลนิธิฯ คุณอัจฉรพรรณ คณาธนะวนิชย์ บริษัท แหลมทองสหการ ดร.พรชัย มงคลวนิช อธิการบดีมหาวิทยาลัยสยาม คุณจันทรา อินทรทูต รองประธานกรรมการมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถ้มภ์ และแขกผู้มีเกียรติร่วมงาน ณ หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ ซอยอาริย์สัมพันธ์ เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร          โดยภายในงาน พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี เป็นประธานเปิดงานและมอบรางวัล "หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก" สร้างเสริมคนดีมีคุณธรรม ประจำปี ๒๕๖๗ ให้แก่ประธานคณะกรรมการอุปการะเยาวชนประจำจังหวัด (ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด) ของมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์, อาจารย์ระดับอุดมศึกษาผู้ทรงคุณธรรม มีผลงานดีเด่นในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา, ครูในกรุงเทพฯ ผู้รับผิดชอบงานมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชนในพระบรมราชินูปถัมภ์ ผู้มีผลงานดีเด่นในการบำเพ็ญประโยชน์ดีเด่นแก่ประชาชนและสังคม (ตำรวจจราจรดีเด่น พนักงานกวาดถนนดีเด่น พนักงานขับรถโดยสารประจำทาง บขส. ดีเด่น ผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยดีเด่น พลเมืองดี และจิตอาสาดีเด่น), คนพิการดีเด่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิต, หมู่บ้านหัตถกรรมดีเด่นและผู้นำหมู่บ้านหัตถกรรมดีเด่น       นอกจากนี้ยังมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมทึ่ได้รับรางวัลในปีนี้ (ทุกภาค) และสินค้าผลิตภัณฑ์คนพิการอีกด้วย

งาน "วันหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก" งานสร้างเสริมคนดีมีคุณธรรรม ครั้งที่ ๓๖         วัน "หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร&qu...