วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

“จุรินทร์” เป็นประธานในพิธีลงนาม MOU ระหว่างกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกับ CCPIT Shenzhen โชว์ฝีมือ จัดมินิเอฟทีเอ ไทย-เซินเจิ้น ฉบับ 7 ของไทย ตั้งเป้าปี 66 โตเพิ่มอีก 5% สร้างเงิน 43,000 ล้านบ

“จุรินทร์” เป็นประธานในพิธีลงนาม MOU ระหว่างกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกับ CCPIT Shenzhen

โชว์ฝีมือ จัดมินิเอฟทีเอ ไทย-เซินเจิ้น ฉบับ 7 ของไทย ตั้งเป้าปี 66 โตเพิ่มอีก 5% สร้างเงิน 43,000 ล้านบาท






                                        นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานสักขีพยานและกล่าวแสดงความยินดีในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ โดยนายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กับสภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ แห่งชาติจีน คณะกรรมการเทศบาลเมืองเซินเจิ้น (CCPIT Shenzhen) โดยนายกู้ ตงจง ประธานสภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ แห่งชาติจีน คณะกรรมการ เทศบาลเมืองเซินเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน ท่ามกลางแขกผู้มีเกียรติมากมาย อาทิ นายหวัง ลี่ผิง อัครราชทูต (ที่ปรึกษา) ฝ่ายการพาณิชย์ของจีน นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ และตัวแทนภาครัฐและเอกชนทั้งไทยและจีนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ณ ห้องบุรฉัตรไชยากร ชั้น 4 กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันพุธที่ 1 มีนาคม 2566




            นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า เป็นนโยบายที่ตนมอบให้กับกระทรวงพาณิชย์ดำเนินการตลอดช่วง 4 ปี ที่รัฐบาลนี้มาบริหรแผ่นดิน วันนี้มี FTA ทั้งหมด 14 ฉบับ กับ 18 ประเทศ และ mini FTA 6 ฉบับ ประกอบด้วย โคฟุ ปูซาน คยองกี เตลังกานา และของจีน 2 ฉบับ คือ ไห่หนานและกานซู่ ที่จะลงนามวันนี้กับเซินเจิ้นเป็นฉบับที่ 7  และถัดจากนี้ยังมีกับยูนนาน และที่กำลังจะประสบความสำเร็จคือ 5 รัฐของอินเดีย รวมกับสหราชอาณาจักรและปากีสถาน ถ้าประสบความสำเร็จจะเข้ามาช่วยเสริม FTA ในเชิงลึก




             นโยบายที่ตนมอบให้กระทรวงพาณิชย์คือความร่วมมือเขตเสรีทางการค้าฉบับใหญ่หรือ FTA ไม่พอ เป็นภาพกว้าง ภาพรวม ถึงเวลาที่เราต้องใช้นโยบายเชิงลึก เชิงรุกทำการค้าการลงทุนร่วมกัน ลงลึกรายมณฑล รายรัฐ เพราะบางรัฐบางประเทศใหญ่กว่าประเทศไทยและบางมณฑลของจีนจีดีพีมากกว่าประเทศไทย และเซินเจิ้นมีจีดีพีเกือบเท่าไทย จะช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าการลงทุนที่เป็นรูปธรรมที่สุดรูปแบบหนึ่ง ถือเป็นโอกาสที่ดีที่สุดของทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งไทยและเซินเจิ้น เซินเจิ้นเป็นเขตเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของจีน รองจากเซี่ยงไฮ้และปักกิ่ง   เป็นเมืองยุทธศาสตร์เชื่อมมณฑลกวางตุ้ง ฮ่องกงและมาเก๊า เป็นศูนย์รวมเศรษฐกิจด้านตะวันออกเฉียงใต้ของจีน (Greater Bay Area) เป็นที่รวมของธุรกิจใหม่ ที่รวมของนวัตกรรม เทคโนโลยีและเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของจีน จะมีส่วนช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกันได้มหาศาลในอนาคต




“ปี 2565 มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับเซินเจิ้น มีมูลค่า 868,000 ล้านบาท ตั้งเป้าร่วมกันหลังมี mini FTA ภายใน 2 ปีที่ (2566-2567)จะทำให้มูลค่าการค้าระหว่างกันเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5% ตั้งเป้าเพิ่มอีก 43,000 ล้านบาท ในปี 66 และ 130,000 ล้านบาท ในปี 67 จะเป็นกลไกสำคัญเพิ่มมูลค่าการค้าการลงทุนอย่างเป็นรูปธรรม ผลักดันเศรษฐกิจของไทยและจีนให้เจริญก้าวหน้าสืบไป”
                 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ททท. ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนความหลากหลายทางเพศ พร้อมดันประเทศไทยเป็น  Top LGBTQ+ Friendly Destination ผ่านงาน PRIDE NATION SAMUI INTE...